ความมุ่งมั่นในการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัท (SUTHA)
ตระหนักและให้ความสำคัญในผืนดินซึ่งถือเป็นแหล่งทำมาหากินสำหรับธุรกิจ
การนำทรัพยากรมาใช้งานเพื่อสร้างประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
และ SUTHA
ถือเป็นความรับผิดชอบของธุรกิจและหนึ่งในหน้าที่ในการมีส่วนช่วยขับเคลื่อนพัฒนา
บำรุงรักษา คืนคุณค่าให้แก่ ผืนดิน และระบบนิเวศน์
โดยดำเนินการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานของธุรกิจตลอดห่วงโซ่
รวมถึงส่งเสริมสร้างให้เกิดคุณค่าในกระบวนการของบริษัท
และของลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสีย
โดยให้ความสำคัญและส่งเสริมดำเนินการให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพเชิงบวก
โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย
การดูแลเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
การจัดการตามแนวทางการใช้ประโยชน์ในที่ดินของบริษัท
การส่งเสริมเพื่อปกป้อง ฟื้นฟู
และสนับสนุนระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน การปลูกต้นไม้
การฟื้นฟูสภาพดินจากการใช้ประโยชน์และคุณสมบัติของปูนขาว
และการจัดการพื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืน เพื่อฟื้นฟู
หรือชดเชย
ตลอดจนร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเชิงบวกในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการส่งเสริมและอนุรักษ์เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
คำนิยาม
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
ตามนิยามโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
(International Union of Conservation or Nature and
Natural Resources : IUCN) หมายถึง
การมีสิ่งมีชีวิตที่มีความแตกต่างและหลากหลาย
ในแหล่งที่อยู่อาศัย ทั้งบนพื้นโลก ในทะเล
และในระบบนิเวศต่าง ๆ
ซึ่งความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตนี้
รวมไปถึงความหลากหลายระหว่างชนิด พันธุ์
ระหว่างสายพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ
บริษัท
มีการศึกษาความเชื่อมโยงของการดำเนินธุรกิจกับผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
เพื่อจำแนกความเสี่ยงหรือโอกาสที่อาจเกิดขึ้น
ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากิจกรรมขององค์กรที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ความมุ่งมั่นในการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
SUTHA
เป็นธุรกิจซึ่งมีการผลิตสินค้าและบริการเพื่อส่งต่อคุณค่าและประโยชน์จากผลิตภัณฑ์สู่ภาคการผลิตทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศและต่างประเทศ
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพมีการบูรณาการเพื่อดำเนินงานและวิธีปฏิบัติตามบริบทในการดำเนินธุรกิจ
โดยจัดทำแผนพัฒนาให้ความสอดคล้อง
โดยประเมินจากเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ
จากการที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สผ.)
ได้เปิดเผยกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศตามผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
(Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework) เมื่อ
30 มกราคม 2566 โดยสาระสำคัญที่สรุป
กรอบการทำงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกันระหว่างสมาชิกในภาคี
แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
- ลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การพื้นฟู
การเพิ่มพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
การลดมลพิษ
และการกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานซึ่งมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
- การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เช่น
การใช้ผลิตภัณฑ์จากฐานชีวภาพ
การบริหารจัดการพื้นที่เกษตร ประมง
ในรูปแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ
- กลไกการผลักดัน ให้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกระแสหลัก
เช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
สผ.
ได้กำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2566 2590 (Long-term Strategy Approach to
Mainstreaming Biodiversity of Thailand) ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 :
ขับเคลื่อนความหลากหลายทางชีวภาพโดยการดำเนินงานของภาครัฐทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง
ตั้งแต่ ระดับนโยบายของรัฐ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 :
ขับเคลื่อนความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปในการดำเนินงานและวิธีปฏิบัติของภาคธุรกิจ
ซึ่งมีบทบาทในภาคการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
ประกอบด้วยภาคการเกษตร ภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม
รวมถึงภาคการเงิน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 :
ขับเคลื่อนความหลากหลายทางชีวภาพในสังคม
ให้ทุกคนได้มีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี
บริษัทมุ่งมั่นในการจัดการด้านความยั่งยืน
โดยคณะกรรมการได้อนุมัตินโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566
โดยวางกรอบในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพ
(E6)
โดยกำหนดแนวทางบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
หลักการ
ด้วยกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มทรัพยากรและอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตซึ่งในพื้นที่ในการประกอบธุรกิจอาจส่ง
และ/หรือสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศ
บริษัทได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดข้อกำหนดที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการต่ออายุใบอนุญาตสำหรับการประกอบธุรกิจของบริษัท
และบริษัทย่อย รวมถึงการป้องกันความเสียหายต่อชื่อเสียง
และมีการกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องตามแนวทางการรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
แนวทางปฏิบัติ
- ได้กำหนดและเปิดเผยนโยบายความหลากหลายทางชีวภาพที่ตระหนักและมุ่งลดผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมและให้ความสำคัญต่อการดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
และถือเป็นความรับผิดชอบของธุรกิจและหนึ่งในหน้าที่ในการมีส่วนช่วยขับเคลื่อนพัฒนาให้เกิดการบำรุงรักษา
คืนคุณค่าให้แก่ระบบนิเวศและให้ความสำคัญในการฟื้นฟูธรรมชาติและเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
ตลอดจนวงจรชีวิตที่เกี่ยวเนื่องภายในระบบนิเวศ
(Ecosystem)
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท
และกำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินของบริษัท
- มีการดำเนินการเพื่อรักษาหรือปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ
หรือมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติหรือระบบนิเวศน์ในส่วนกิจกรรมหรือส่วนงานที่อาจได้รับผลกระทบจากระบวนการทางธุรกิจ
โครงสร้างการกำกับดูแล
กำหนดแนวทางเพื่อการกำกับและติดตามการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพโดยการพัฒนาลดผลกระทบและการส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพเชิงบวกถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาขับเคลื่อนตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยซึ่งกลุ่มโครงสร้างเพื่อร่วมกำกับและดำเนินการ
ประกอบด้วย
คณะกรรมการบริษัท
- พิจารณาอนุมัติและทบทวนนโยบายและแนวทางการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยง
ครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า
และมีการทบทวนตามความเหมาะสม
- กำกับดูแลให้การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- กำกับดูแลและสนับสนุนให้ฝ่ายจัดการมีการตรวจประเมินด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
(Biodiversity Check)
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
- พิจารณาผลการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่เสนอประจำปี
และพิจารณาให้ข้อเสนอแนะหากมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายจัดการเพื่อได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างเหมาะสม
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ฝ่ายจัดการในการบริหารและปลูกฝังให้การจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
มีการปลูกฝังสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการดำเนินการขององค์กร
ผู้บริหาร
- จัดให้มีหลักเกณฑ์
ขั้นตอนและแนวทางวิเคราะห์และการตรวจประเมินด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
(Biodiversity Check)
รวมทั้งกำหนดแนวทางการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่เหมาะสมกับบริบทและเป็นไปตามนโยบาย
ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมายของประเทศที่ดำเนินธุรกิจ
- จัดให้มีโครงสร้างองค์กรที่มีผู้รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน
พร้อมทั้งจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมเพียงพอ
- กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์
แผนและตัวชี้วัดด้านการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
- ติดตามดูแล บริหารจัดการ และสนับสนุนให้พนักงาน คู่ค้า
พันธมิตรทางธุรกิจ
และผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย
มาตรการ
และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ตลอดจนปรับปรุงแนวปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- สร้างและส่งเสริมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมของการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยสื่อสารไปยังพนักงานทุกระดับ
และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
- การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเพื่อรายงานผลการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
เพื่อรายงานเสนอต่อคณะกรรมการและผู้มีส่วนได้เสีย
- จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแส
และรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
รวมทั้งกระบวนการร้องเรียน
และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน
และผู้รายงาน
หน่วยงานหรือบุคคลที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม
หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและกำกับการพัฒนาความยั่งยืน
- จัดทำแผนกลยุทธ์
แผนปฏิบัติการและมาตรการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ชัดเจน
สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจ
- กำหนดกระบวนการการเปิดเผยและรายงานข้อมูลการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพที่ชัดเจน
โปร่งใส และตรวจสอบได้
- ตรวจประเมินด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity
Check)
รวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบทั้งที่เกิดขึ้นจริง
หรืออาจจะเกิดขึ้น
- รายงานข้อมูลประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
(ถ้ามี)
ให้แก่ผู้บริหารทราบอย่างสม่ำเสมอและรายงานทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ
- ควบคุมภายใน บริหารจัดการความเสี่ยง
และติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายให้มีประสิทธิภาพ
และรัดกุมเพียงพอ
รวมทั้งแจ้งและติดตามผลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้มีการปรับแก้ไขอย่างสม่ำเสมอ
- ติดตาม ตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล
และจัดทำรายงานการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ตลอดจนบริหารจัดการการเปิดเผยข้อมูลให้แก่ผู้บริหาร
คณะกรรมการและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัททราบเป็นประจำทุกปี
เพื่อให้เป็นไปตามกรอบที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนด
- ประสานบูรณาการความร่วมมือกับบุคคล หน่วยงาน
หรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
เพื่อร่วมกำหนดมาตรการ การบริหารจัดการ กลไกการควบคุม
การตอบสนอง และการแก้ไขปัญหา
- ร่วมทบทวนนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้สอดคล้องกับกฎหมาย
ระเบียบ แนวปฏิบัติ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
พนักงาน
- เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ นโยบาย และแนวปฏิบัติ
รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- สื่อสารและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับนโยบายและเป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพของบริษัทไปยังคู่ค้า
ลูกค้าชุมชน พันธมิตรทางธุรกิจ
และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
- เมื่อพบเห็นการกระทำผิดหรือการกระทำที่เข้าข่ายฝ่าผืนนโยบายขอให้รายงานข้อมูลหรือแจ้งร้องเรียนผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแสของบริษัท