วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ในการดำเนินงานของบริษัท







วิสัยทัศน์

เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายที่เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งกลุ่มบริษัทจึงได้มีการวางวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และคุณค่า (Value) ขององค์กรไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยวิสัยทัศน์เป็นตัวกำหนดความมุ่งหวังและเป้าหมายสูงสุดขององค์กรเพื่อให้ทุกฝ่ายยึดถือในการดำเนินธุรกิจเพื่อใช้เป็นหลักการร่วมกันจึงกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร ดังนี้

“เป็นผู้นำด้านการผลิตปูนขาวและแปรรูปแร่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ด้วยการส่งมอบคุณค่าสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


“เป็นผู้นำด้านการผลิตปูนขาวและแปรรูปแร่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ด้วยการส่งมอบคุณค่าสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจหลักซึ่งเป็นโครงสร้างการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ประกอบด้วย
  • การผลิตและจำหน่ายปูนขาว
  • การผลิตและจำหน่ายแคลเซียมคาร์บอเนต
  • การผลิตและจำหน่ายติดตั้งหินอ่อนและผลพลอยได้จากหินอ่อน
  • การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มหินปูนและหินก่อสร้างและผลิตภัณฑ์ซื้อมาจำหน่ายไป
  • การจำหน่าย ประกอบ ติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ และบริการด้านวิศวกรรม
ทิศทางพันธกิจที่บริษัทจะดำเนินการให้สอดคล้องตามทิศทางในฐานะกลุ่มบริษัทซึ่งได้รับนโยบายจาก Carmeuse ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหลักทางอ้อมเพื่อร่วมขับเคลื่อนดำเนินธุรกิจเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด และค่านิยมองค์กรซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลและให้บริการแก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียโดยมุ่งปลูกฝังเพื่อให้พนักงานทุกคนไปถือปฏิบัติเป็นแนวทางตามวัฒนธรรมขององค์กรและร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพภายใต้กรอบความคิด (Mindset) ดังนี้


เป้าหมาย

ด้านเศรษฐกิจและธรรมาภิบาล
  • ความหลากหลายและความมั่นคง: มุ่งสร้างความหลากหลายและความมั่นคงทางวัตถุดิบ ผลักดันยอดขาย และสร้างกำไรจากการดำเนินงาน เพื่อยกระดับกำไรสุทธิ
  • ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม: มุ่งเป็นผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายปูนขาว แคลเซียมคาร์บอเนตผง และผลิตภัณฑ์จากหินอ่อน ด้วยการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการอย่างมีความรับผิดชอบ
  • นวัตกรรมและเทคโนโลยี: พัฒนากระบวนการและผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
  • ประสิทธิภาพและความพึงพอใจของลูกค้า: ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพทั้งกระบวนการผลิตของบริษัทและของลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยการผลิตสินค้าที่ตรงต่อความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรม และให้คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในราคาที่แข่งขันได้
  • การเติบโตอย่างยั่งยืน: รักษาการเติบโตทางธุรกิจให้มีความสามารถในการทำกำไรได้ในระยะยาว เพื่อสร้างผลตอบแทนต่อผู้มีส่วนได้เสีย
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี: สร้างและบูรณาการการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุกบริษัทภายใต้การบริหารจัดการ โดยมีระบบและกระบวนการควบคุมภายในที่แข็งแกร่ง และการบริหารความเสี่ยงที่สามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน


ด้านสังคม
  • ความปลอดภัยและสุขภาพ: ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัย สุขภาพ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งในสถานประกอบการ ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสีย
  • โอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียม: ส่งเสริมโอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียม การจ้างงานบุคลากรท้องถิ่น ความเสมอภาค และการดำเนินการภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน
  • การศึกษาและพัฒนาทักษะ: ส่งเสริมโอกาสด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะ เพื่อยกระดับคุณภาพและศักยภาพของบุคลากรในการพัฒนาองค์กร
  • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย: พัฒนาการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร ธุรกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน


ด้านสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการสิ่งแวดล้อม: จัดการกระบวนการเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดำเนินการในการกำหนดมาตรการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบและความเสี่ยงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกี่ยวข้อง การจัดการขยะของเสีย ลดปริมาณเศษซาก หรือวัสดุที่ต้องฝังกลบ และวัสุดที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการให้เหลือน้อยที่สุด
  • การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ: จัดการความหลากหลายทางชีวภาพและผลกระทบจากกระบวนการดำเนินธุรกิจที่มีต่อนิเวศบริการ ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ
  • กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน และการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กลยุทธ์ในการดำเนินการ

บริษัทกำหนดกลยุทธ์การทำธุรกิจเพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมายและกรอบเวลาที่กำหนดไว้ภายใต้กรอบกลยุทธ์องค์กรและธุรกิจ และการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านปฏิบัติการ

กลยุทธ์องค์กรและธุรกิจ

โดย SUTHA มุ่งพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน หรือ “The three paths to business sustainability of SUTHA” ซึ่งคณะกรรมการกำกับการพัฒนาด้านความยั่งยืนเสนอคณะกรรมการบริษัทเห็นชอบประกอบ 3 เส้นทางขับเคลื่อนสมดุลทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม (E), สังคม (S) และ เศรษฐกิจและธรรมาภิบาล (G) ที่กำหนดเป้าหมายทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว (GRI:2-23) ดังนี้


สนับสนุนด้าน กลยุทธ์ระยะสั้น 1-2 ปี
ด้านสิ่งแวดล้อม
  • • การจัดการทรัพยากร จัดการพลังงาน การพัฒนาใช้พลังงานทดแทน
  • • การหมุนเวียนทรัพยากรใช้ประโยชน์สุงสุด
  • • การพัฒนาพลังงานจากการใช้วัสดุชีวมวล
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
  • > ควบคุม GHG Scope 1&2
  • > ประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน
  • > การพัฒนาพลังงานจากการใช้วัสดุชีวมวล
สนับสนุนเป้าหมาย SDG’s
เป้าหมายที่ 13 , เป้าหมายที่ 6 , เป้าหมายที่ 7 และเป้าหมายที่ 11
สังคมและสิทธิมนุษยชน
  • • คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ
  • • พัฒนาความรู้ ความสามารถ ความร่วมมือบุคลากร
  • • การยืนยัดสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า
  • • รับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และกระบวนการเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
  • > อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์
  • > ข้อร้องเรียนประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นศูนย์
  • > ชั่วโมงการอบรมให้กับพนักงาน
  • > ความพึงพอใจสูงสุดจากลูกค้า
  • > ความพึงพอใจของพนักงาน
สนับสนุนเป้าหมาย SDG’s
เป้าหมายที่ 3 , เป้าหมายที่ 4 , เป้าหมายที่ 6 , เป้าหมายที่ 8 และเป้าหมายที่ 16
เศรษฐกิจและธรรมาภิบาล
  • • สภาพคล่องทางการเงิน
  • • ลงทุนตามลำดับความสำคัญและมีความปลอดภัย
  • • สร้างประสิทธิภาพเพื่อผลตอบแทนจากการลงทุน
  • • การกำกับกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ การต่อต้านการทุจริต การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ วิธีการและการพัฒนาธุรกิจตามกรอบแนวทางด้านความยั่งยืน
  • • การพัฒนาระบบการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า
  • • การจัดการความเสี่ยงและวิกฤต
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
  • > กระแสเงินสดอิสระ
  • > การดำรงอัตราส่วนทางการเงิน
  • > ผลตอบแทนจากการลงทุน
  • > การปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อกำหนด เป็นศูนย์
  • > ESG Rating เป็นที่ยอมรับ
สนับสนุนเป้าหมาย SDG’s
เป้าหมายที่ 7 , เป้าหมายที่ 9 , เป้าหมายที่ 12 , เป้าหมายที่ 15 , เป้าหมายที่ 16 และเป้าหมายที่ 17


สนับสนุนด้าน กลยุทธ์ ระยะกลาง 3-5 ปี
ด้านสิ่งแวดล้อม
  • • การลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน
  • • เพิ่มการชดเชยคาร์บอน
  • • พัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
  • > GHG Scope 1&2 ที่ลดลง
  • > ค่า GHG Scope 3 ที่เกี่ยวข้องภายในห่วงโซ่อุปทาน
  • > คาร์บอนเครดิต
สนับสนุนเป้าหมาย SDG’s
เป้าหมายที่ 13 , เป้าหมายที่ 6 , เป้าหมายที่ 7 และเป้าหมายที่ 11
สังคมและสิทธิมนุษยชน
  • • ทุกระบบทุกกระบวนการปลอดภัยไร้อุบัติภัย
  • • การบรรลุความพึงพอใจลูกค้า ยืนหยัดระยะยาว
  • • พัฒนาความรู้ ความสามารถ ความร่วมมือบุคลากร
  • • สานสัมพันธ์ ร่วมมือผู้มีส่วนได้เสียพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
  • > อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์
  • > ข้อร้องเรียนประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นศูนย์
  • > ชั่วโมงการอบรมให้กับพนักงาน
  • > ความพึงพอใจสูงสุดจากลูกค้า
  • > ความพึงพอใจของพนักงาน
สนับสนุนเป้าหมาย SDG’s
เป้าหมายที่ 3 , เป้าหมายที่ 4 , เป้าหมายที่ 6 , เป้าหมายที่ 8 , เป้าหมายที่ 16 และเป้าหมายที่ 17
เศรษฐกิจและธรรมาภิบาล
  • • พัฒนาระบบ, เทคโนโลยี, การดำเนินการลดคาร์บอน
  • • พัฒนาโอกาสเติบโตจากเทคโนโลยี,สังคมคาร์บอนต่ำ
  • • การบูรณาการการกำกับกิจการที่ดีครอบคลุมความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ( Integrated GRC (Governance Risk Compliance)
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
  • > การเพิ่มขึ้นของการผลิตพลังงานหมุนเวียน
  • > การเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งการตลาด
  • > การปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อกำหนดเป็นศูนย์
  • > ESG Rating เป็นที่ยอมรับ
สนับสนุนเป้าหมาย SDG’s
เป้าหมายที่ 12 , เป้าหมายที่ 7 , เป้าหมายที่ 16 , เป้าหมายที่ 9 , เป้าหมายที่ 15 และเป้าหมายที่ 17


สนับสนุนด้าน กลยุทธ์ ระยะ มากกว่า 5 ปี
ด้านสิ่งแวดล้อม
  • • การส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์สีเขียว
  • • การลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน
  • • เพิ่มการชดเชยคาร์บอน
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
  • > GHG Scope 1&2 ที่ลดลง
  • > ค่า GHG Scope 3 ที่เกี่ยวข้องภายในห่วงโซ่อุปทาน
  • > คาร์บอนเครดิต
สนับสนุนเป้าหมาย SDG’s
เป้าหมายที่ 13 , เป้าหมายที่ 6 , เป้าหมายที่ 7 และเป้าหมายที่ 11
สังคมและสิทธิมนุษยชน
  • • ทุกระบบทุกกระบวนการปลอดภัยไร้อุบัติภัย
  • • การบรรลุความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
  • • พัฒนาความรู้ ความสามารถ ความร่วมมือ
  • • ร่วมพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืนกับผู้มีส่วนได้เสีย
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
  • > อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์
  • > ข้อร้องเรียนประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นศูนย์
  • > ชั่วโมงการอบรมให้กับพนักงาน
  • > ความพึงพอใจสูงสุดจากลูกค้า
  • > ความพึงพอใจของพนักงาน
สนับสนุนเป้าหมาย SDG’s
เป้าหมายที่ 3 , เป้าหมายที่ 4 , เป้าหมายที่ 6 , เป้าหมายที่ 8 , เป้าหมายที่ 16 และเป้าหมายที่ 17
เศรษฐกิจและธรรมาภิบาล
  • • ระบบและเทคโนโลยีดำเนินการคาร์บอนต่ำ
  • • การมีสภาพคล่องและเงินสดที่เป็นอิสระ
  • • พัฒนาเชื่อมโยงใช้ประโยชน์และสร้างโอกาสจาก Digital, Technology, Innovation
  • • การกำกับกิจการที่ดีตามกรอบความยั่งยืนสอดคล้องตามมาตรฐานสากล
ตัวชี้วัดที่สำคัญ
  • > การเพิ่มขึ้นของการผลิตพลังงานหมุนเวียน
  • > การเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งการตลาด
  • > การปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อกำหนดเป็นศูนย์
  • > ESG Rating ยอมรับเพิ่มขึ้น
สนับสนุนเป้าหมาย SDG’s
เป้าหมายที่ 7 , เป้าหมายที่ 9 , เป้าหมายที่ 12 , เป้าหมายที่ 15 , เป้าหมายที่ 16 และเป้าหมายที่ 17

3 เส้นทาง เชื่อมโยงสู่การพัฒนาความยั่งยืนตามเป้าหมายสากลขององค์กรสหประชาชาติ SDG’s Goal

การพัฒนาธุรกิจมุ่งสู่ความยั่งยืน ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีแนวดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมดำเนินธุรกิจเพื่อเชื่อมโยงสนับสนุนต่อการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ SDG’s Goal

SUTHA ได้ปรับกรอบกลยุทธ์เชิงนโยบายจากบริหารจัดการจากกลุ่มบริษัทกลุ่มคามิวส์ และประยุกต์เชื่อมโยงกรอบการกำกับดูแลกิจการตามธรรมเนียมปฏิบัติของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจให้สอดคล้องในทิศทางเดียวกับเป้าหมายความยั่งยืน SDG’s Goal





SDG’s เป้าหมายที่ 2
สร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
เป้าหมายนี้ ถือเป็นส่วนส่งเสริมกลยุทธ์ทางธุรกิจและการกระจายผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร และการเกษตร
ผลิตภัณฑ์ปูนขาว และแคลเซียมคาร์บอเนต เป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในการผลิตน้ำตาล และเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ , ประมง รวมถึงภาคการเกษตร โดยปูนขาวถือเป็นสารเพื่อใช้ในการปรับสภาพดินและน้ำที่มีความเป็นกรด เพื่อให้เกิดความเป็นกลาง
การส่งเสริมเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายในเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ เริ่มจาก
> การศึกษาเพื่อพัฒนาขยายธุรกิจเพื่อกระจายสินค้าสู่ภาคเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้น
> การส่งเสริมให้เกิดการนำปูนขาวเพื่อใช้ในการปรับสภาพดิน
> การพัฒนาคู่ธุรกิจเพื่อการกระจายสินค้าสู่ทั่วทุกภูมิภาค
SDG’s เป้าหมายที่ 3
สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย โดย ให้ความสำคัญสูงสุดกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
ครอบครัว และคนในชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

เป้าหมายนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจที่กลุ่มบริษัทให้ความสำคัญ
ผลิตภัณฑ์ปูนขาว และแคลเซียมคาร์บอเนต เป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในการผลิตน้ำตาล และเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ , ประมง รวมถึงภาคการเกษตร โดยปูนขาวถือเป็นสารเพื่อใช้ในการปรับสภาพดินและน้ำที่มีความเป็นกรด เพื่อให้เกิดความเป็นกลาง
การส่งเสริมเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายในเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ เริ่มจาก
> มุ่งมั่นที่จะทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานเป็นศูนย์ และ
> ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นของพนักงานและครอบครัวของผู้ร่วมงาน
> การจัดโครงการเพื่อเข้าใจการพัฒนาชุมชนหรือหน่วยงานองค์กรท้องถิ่นเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่ชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
SDG’s เป้าหมายที่ 4
สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การศึกษาถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาองค์กร

กลยุทธ์ของกลุ่มบริษัท คือ
> การสร้างพนักงานที่มีคุณภาพและ
> การเตรียมการสำหรับคนรุ่นต่อไปเพื่อสืบทอดตำแหน่งในอนาคต
> การจัดให้มีโปรแกรมการให้ความรู้ที่หลากหลายสำหรับพนักงานและลูกค้าเพื่อให้สามารถเอาชนะปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
> มุ่งมั่นที่จะแสวงหาเทคโนโลยีใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อมอบโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่พนักงาน ควบคู่ไปกับ
> การให้ความร่วมมือสนับสนุนการศึกษากับสถาบันต่างๆ เพื่อสรรหานักเรียนที่มีทักษะตรงกับตำแหน่งของบริษัท รวมถึง
> การเข้าร่วมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของบริษัท โดยสมาชิกกลุ่มจะมีการรับมอบหมายในการศึกษาข้อมูลและนำมาแลกเปลี่ยนความรู้ หรือเสริมสร้างความเข้าใจ (Learning Share)
SDG’s เป้าหมายที่ 6
“น้ำสะอาด” เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มบริษัทผลิต ไม่ว่าจะเป็นปูนขาวหรือหินปูนต่างมีบทบาทที่สำคัญที่ใช้กับกระบวนการผลิตน้ำดื่มและการบำบัดน้ำเสีย มันถูกนำมาใช้เพื่อปรับความกระด้างของน้ำ ปรับความเป็นกรด-เป็นด่าง ขจัดสิ่งแปลกปลอมและสารปนเปื้อนโลหะหนัก
กลยุทธ์ของกลุ่มบริษัท คือ
> การเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อบำบัดน้ำผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การเข้าซื้อกิจการ และ
> การขยายการดำเนินงานในภูมิภาคใหม่ หรือพัฒนาธุรกิจใหม่ อุตสาหกรรมใหม่ ควบคู่ไปกับ
> การให้การสนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัท
SDG’s เป้าหมายที่ 7
สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา
กลยุทธ์ของกลุ่มบริษัท คือ
> มุ่งมั่นที่จะใช้พลังงานสะอาด พลังงานทดแทน และ
> ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น

ผลิตภัณฑ์ของเรามีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตกระจก Solar Glass และงานฐานรากของกังหันลมผลิตไฟฟ้า
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทยังมีทีมสนับสนุนจากกลุ่มคามิวส์ซึ่งมีทีมงานระดับโลกหลายทีมสามารถส่งเสริมในการพัฒนาความคิดริ่เริ่มเกี่ยวกับ
> การใช้เชื้อเพลิงทางเลือก
> การปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อลดการใช้พลังงาน
> การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน
> การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตของทั้งลูกค้าและพันธมิตรเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้เปลี่ยนมาเป็นทรัพยากรสำหรับพลังงานหมุนเวียน
SDG’s เป้าหมายที่ 8
ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ การมีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
หัวใจสำคัญของกลยุทธ์ความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท คือ
> ความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งเป็นเป้าหมายในลำดับที่มีความสำคัญเพื่อรักษาการเติบโตทางธุรกิจให้มีความสามารถในการทำกำไรได้ในระยะยาว เพื่อ
> รักษาความสามารถในการส่งเสริมให้คนทั้งในและนอกองค์กรตลอดจนชุมชนที่เกี่ยวข้องได้มีอาชีพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน และ
> เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์นี้ กลุ่มบริษัทจะมีการขยายธุรกิจโดยกระจายธุรกิจ ผ่านการเข้าซื้อกิจการและทำงานเพื่อพัฒนาแนวทางเลือกที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับรับมือกับความท้าทายในอนาคต
SDG’s เป้าหมายที่ 9
การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
ธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัทเริ่มจากการผลิตหินปูนเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตปูนขาว และเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานมายาวนานและเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างมากในธุรกิจปัจจุบันโดยเป้าหมายความสำคัญเชิงกลยุทธ์ใน 3 ด้าน ของกลุ่มบริษัท คือ
> การควบรวมและการได้มาซึ่งกิจการใหม่,
> การส่งเสริมนวัตกรรมและการขยายขอบเขตอุตสาหกรรมการผลิตที่มีอยู่เดิม เพื่อให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายแทนที่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
> สามารถขยายขอบเขตการผลิตเพื่อรองรับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานได้
SDG’s เป้าหมายที่ 10
ลดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม โดยส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่น
และสร้างหลักประกันในการจ่ายค่าตอบแทนในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมาย

โดยเป้าหมายที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ คือ
> การส่งเสริมการจ้างงานสำหรับคนในท้องถิ่น
> การให้โอกาสที่เท่าเทียมในการว่าจ้างโดยไม่มีการแบ่งแยกชาย หญิง
> การสร้างหลักประกันรายได้ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่า อัตราขั้นต่ำตามกฎหมาย
SDG’s เป้าหมายที่ 11
การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานครอบคลุมความปลอดภัย และชุมชนที่ยั่งยืน
โดยเป้าหมายความสำคัญเชิงกลยุทธ์ คือ
> การส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยทั้งภายในสถานประกอบการทั้งของบริษัท ลูกค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสีย
> บุคลากรต้องให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยทั้งในสถานประกอบการของบริษัท และของลูกค้า ชุมชน สังคม ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย
> การจัดให้มีสภาพแวดล้อม มีสถานที่ และมีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างเหมาะสมในทุกสถานประกอบการ และทุกกระบวนการ
SDG’s เป้าหมายที่ 12
สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนโดยเริ่มจาก
> การบริหารจัดการเหมืองหินปูน โดยการวางแผนการ และใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ความพยายามในการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตกับวัตถุดิบที่หลากหลาย โดยกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัท ยังคงมุ่งเน้นไปที่
> การได้มาและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ
> การปรับปรุงการดำเนินงาน และ
> การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ หรือ
> ลดปริมาณวัสดุที่ต้องนำไปฝังกลบได้
SDG’s เป้าหมายที่ 13
เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากกลยุทธที่กลุ่มคามิวส์วางเป้าหมายไว้ว่า
> ภายในปี พ.ศ.2593 จะสามารถผลิตสินค้าโดยให้ปริมาณก๊าซ CO2 เป็นกลางได้ และมีการกระจายทีมงานไปในทุกสาขาทั่วโลก โดยมุ่งเน้นไปที่ 5 เรื่องหลักๆ ดังนี้ คือ

1) ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน,
2) เชื้อเพลิงทางเลือก,
3) การปรับปรุงการผลิต,
4) โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนและ
5) การลดปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2
ซึ่ง SUTHA ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาในการบริหารจัดการใน 5 เรื่องหลักเพื่อให้เกิดการริเริ่มในการมีส่วนเพื่อสนับสนุนธุรกิจในการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ทีมงาน Application ของกลุ่มจะมีส่วนเพื่อร่วมมือกับลูกค้าในการปรับปรุงขั้นตอนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
อันส่งผลช่วยลดผลกระทบเรื่องปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ด้วย
SDG’s เป้าหมายที่ 15
ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืนโดย
> การปลูกต้นไม้ และ
> จัดการพื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืน และ
> หยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

ผืนดินถือเป็นแหล่งทำมาหากินสำหรับธุรกิจ การนำทรัพยากรมาใช้งานเพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบของธุรกิจเพื่อ
> ทำการบำรุงรักษาคืนคุณค่าให้แก่ระบบนิเวศ และ
> ความสำคัญในการฟื้นฟูธรรมชาติและการเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดวงจรชีวิต ในกระบวนการจัดการเหมืองหิน
> การฟื้นฟูระบบนิเวศด้วยการดูแลคุณภาพน้ำ
> การปลูกต้นไม้ และ
> โครงการที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการร่วมมือกับกลุ่มต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบนิเวศน์ชุมชนและที่ดินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจะได้รับการฟื้นฟูอย่างเหมาะสม
SDG’s เป้าหมายที่ 16
ส่งเสริมเพื่อสร้างสังคมที่สงบสุขครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทุกคนมีความเสมอภาค
และส่งเสริมการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ เริ่มจาก

การบูรณาการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกรอบแนวทางด้านความยั่งยืน โดย
1) การสร้างระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยครอบคลุมบูรณาการในทุกบริษัทภายในกลุ่มการบริหารของ SUTHA
2) การพัฒนาระบบการควบคุมภายในและบริหารจัดการความเสี่ยงให้ครอบคลุมเข็มแข็งในทุกระดับ และทุกกระบวนการ
3) การพัฒนาแผนการรองรับต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และรวมไปถึงความเสี่ยงอุบัติใหม่
4) การพัฒนาแผนเพื่อลดเหตุไม่ปกติ การจัดการภาวะไม่ปกติ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
5) พัฒนาเพื่อปรับใช้มาตรฐานการดำเนินการที่เป็นสากลนำมาใช้พัฒนากระบวนการทำงานภายในให้เป็นที่ยอมรับ
SDG’s เป้าหมายที่ 17
เสริมความเข้มแข้งให้แก่กลไกการดำเนินงาน สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาความยั่งยืน
โดยเป้าหมายความสำคัญเชิงกลยุทธ์ใน 3 ด้าน ของกลุ่มบริษัท คือ
1) การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืน
2) การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามกรอบนโยบายด้านความยั่งยืนและเป้าหมายความยั่งยืน
3) ให้ความร่วมมือในการพัฒนาขับเคลื่อนการดำเนินการด้านความยั่งยืนกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

กลยุทธ์ด้านปฏิบัติการ โดยใช้หลักการ Operational Excellence

• กระบวนการ ความปลอดภัยส่วนบุคคล และสิ่งแวดล้อม: ยึดมั่นในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย วิธีการทำงานที่ปลอดภัยในกระบวนการผลิต และการจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์กร เพื่อให้ผลการดำเนินงานมีมาตรฐานสูงสุดตามมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร
• ความเป็นเลิศด้านคุณภาพ: เน้นการผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง กิจกรรมทางการตลาดในปัจจุบันครอบคลุมความต้องการของตลาดที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพสูงสุด
• พลังงาน: ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พิจารณาการลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานทดแทน และโครงการพลังงานคาร์บอนต่ำ และบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานเพื่อให้เกิดความมั่นคงและกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่อง
• การพัฒนาและดำเนินโครงการ: พัฒนาโครงการลงทุนเพื่อปรับปรุงกระบวนการ เพื่อความต่อเนื่อง และสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ โดยบริหารความเสี่ยงและปกป้องการลงทุนจนกว่าโครงการจะสำเร็จอย่างเป็นระบบและมีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
• ผลผลิตและห่วงโซ่อุปทาน: มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน
• ความน่าเชื่อถือ: มุ่งเน้นการบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการผลิต และเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
• ความคุ้มค่าต้นทุน: ควบคุมและบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น การควบคุมกระบวนการทางสถิติ (SPC) และการผลิตแบบลีน
เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• การดำเนินงาน: มุ่งเน้นการปรับปรุงการปฏิบัติการขององค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือและวิธีการจัดการเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย:


  • 1) กลยุทธ์: กำหนดเส้นทางและเป้าหมายที่สอดคล้องกัน
  • 2) วัฒนธรรม: ส่งเสริมให้พนักงานร่วมสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ และปรับใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนางาน พัฒนากระบวนการ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • 3) กระบวนการ: กระบวนการที่สามารถวัดผล ทำซ้ำ และประสบความสำเร็จ
  • 4) เครื่องมือและเทคนิค: ใช้เครื่องมือและเทคนิคเพื่อกระตุ้นนวัตกรรม
  • 5) ตัวชี้วัด: ตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่สามารถประเมินผลได้