การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

หลักการ

ด้วยกระแสการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยทั้งภายในและภายนอกซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนเพื่อเร่งพัฒนาสร้างศักยภาพเพื่อก้าวทันในการจัดการกับความเสี่ยงซึ่งเป็นอุปสรรคที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจโดยนำกรอบการทำงานตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนมาปรับใช้สำหรับองค์กรเพื่อเสริมสร้างธุรกิจให้มีรากฐานที่แข็งแรง


บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องตามกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนและได้ปรับใช้แนวทางตามเกณฑ์การประเมินด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และกรอบนโยบายตามความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักเพื่อเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติในการกำหนดทิศทางการพัฒนาขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้เสีย โดย ”กรอบนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม” มีดังนี้


กรอบนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
ด้านบรรษัทภิบาล

G1. การกำกับดูแลกิจการที่ดี

หลักการ

การกำกับกิจการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรภายในองค์กรทุกระดับควรตระหนักและให้ความสำคัญเพื่อให้การบริหารงานของบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใส ซึ่งจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ตลอดจนสร้างความเข็มแข็งและส่งเสริมธุรกิจให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีทั้งนโยบายและแนวทางปฏิบัติ
  2. 2. เปิดเผยสรุปผลการดำเนินงานสู่สาธารณะ
  3. 3. คณะกรรมการบริษัทกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ดีครอบคลุมเรื่องความความเป็นอิสระ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินผลและนโยบายค่าตอบแทน ตลอดจนกำหนดกระบวนการประเมินผลการทำงานของผู้นำบริษัท หรือผู้บริหารระดับสูง โดยมีหลักเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน ซึ่งครอบคลุมทั้งผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม

G2. จรรยาบรรณธุรกิจและการต่อต้านการทุจริต

หลักการ

การปฎิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำธุรกิจและความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาล จึงมีการกำหนดจรรยาบรรณเพื่อให้ครอบคลุมนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ มีกระบวนการติดตามให้เกิดการปฏิบัติ และจัดการหรือส่งเสริมให้มีการอบรมด้านจรรยาบรรณธุรกิจเพื่อให้บุคลากมีความรู้และเข้าใจเพื่อสามารถนำแนวทางไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจให้ครอบคลุมนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนที่สำคัญ
  2. 2. สนับสนุนให้พนักงานอบรมเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจ รวมถึงกำหนดกระบวนการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของบริษัทมีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ
  3. 3. โดยการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณโดยจัดให้มีการรับข้อร้องเรียนจากช่องทางที่ให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกสามารถแจ้งเบาะแส กรณีมีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจ หรือมีการทุจริต การติดตามข้อร้องเรียน มาตรการจัดการข้อร้องเรียน การแก้ไขป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณซ้ำอีก และรายงานผลการติดตามต่อคณะกรรมการบริษัท หรือคณะอนุกรรมการที่เป็นผู้รับผิดชอบ
  4. 4. การแสดงบทบาทเพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมเครือข่ายเพื่อการต่อต้านการทุจริตและคอร์รั่ปชั่น

G3. การระบุและบริหารจัดการประเด็นที่เป็นสาระสำคัญของธุรกิจ(Materiality)

หลักการ

ประเด็นสำคัญทางธุรกิจ หมายถึง ประเด็นความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม หรือสังคม ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร และผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจ และการสร้างคุณค่าให้ผู้ถือหุ้นขององค์กรทั้งในปัจจุบัน และอนาคต การประเมินประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ และการสื่อสารถึงกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นดังกล่าวจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรรับทราบถึงแนวทางการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการรักษาความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างมูลค่าระยะยาวให้แก่กิจการ และเป็นส่วนสนับสนุนให้ธุรกิจยั่งยืน

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการระบุประเด็นที่เป็นสาระสำคัญของธุรกิจซึ่งสามารถเชื่อมโยงและนำไปสู่การสร้างมูลค่าในระยะยาวให้แก่องค์กร ตลอดจนมีส่วนในการตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ (SDGs)
  2. 2. กระบวนการระบุประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในกระบวนการเพื่อร่วมแสดงความเห็น
  3. 3. มีการนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญให้คณะกรรมการบริษัท คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง หรือผู้บริหารระดับสูงทบทวนและรับรอง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับกำหนดกลยุทธ์และแผนธุรกิจสำหรับองค์กร

G4. การควบคุมภายในการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต

หลักการ

นอกจากระบบการควบคุมภายในเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งควรได้ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการควบคุมภายในอย่างระบบเป็นรูปธรรมที่ทำให้เชื่อมั่นได้อย่างสมเหตุสมผลว่ารายงานข้อมูลทางการเงินของบริษัทเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง โปร่งใส ทันเวลา และสามารถตรวจสอบได้เมื่อมีข้อสงสัย และกระบวนการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตเป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะช่วยให้บริษัทสามารถวางแผนเพื่อดำเนินธุรกิจในระยะยาว สร้างความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน โดยนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงมีความชัดเจน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความเสี่ยงที่สามารถสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นไปอย่างได้ประสิทธิภาพ

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีกระบวนการควบคุมภายในที่เพียงพอเหมาะและมีประสิทธิภาพตามมาตรการควบคุมภายในและเป็นไปอย่างมีระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้อย่างสมเหตุสมผลว่ารายงานข้อมูลทางการเงินของบริษัทเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง โปร่งใส ทันเวลา และสามารถตรวจสอบได้เมื่อมีข้อสงสัย
  2. มีการพัฒนาการประเมินความเสี่ยงที่เป็นสาระสำคัญให้ครอบคลุมประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ เช่น มีการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ มีการประเมินโอกาสที่จะเกิดผลกระทบของความเสี่ยงที่สำคัญ มีการกำหนดตัวชี้วัดด้านความเสี่ยงอย่างเหมาะสม มีการติดตามและประเมินความเสี่ยงขององค์กรที่ครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) โดยการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่าง ๆ ที่สามารถส่งผลกระทบในระดับอุตสาหกรรม หรือในระดับองค์กร
  3. 3. มีการระบุและเปิดเผยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งเป็นความเสี่ยงใหม่ที่ได้รับการระบุที่คาดว่าจะส่งผลกระทบในระยะยาวช่วง 3-5 ปี หรืออาจเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจในปัจจุบันแล้ว และมาตรการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว
  4. 4. มีระบบและแผนจัดการภาวะวิกฤตที่ครอบคลุมความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น อัคคีภัย ภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย รวมไปถึงการรับมือกับความเสี่ยงด้านสาธารณสุข เช่นโรคระบาด โรคติดต่อ เป็นต้น
  5. 5. ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

G5. การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า

หลักการ

การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ดีจะส่งเสริมให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการเกิดความภักดีต่อสินค้าและบริการที่ บริษัทส่งมอบ และทำให้บริษัทสามารถรักษาและขยายฐานลูกค้าได้ในระยะยาว

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณในการพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้าพร้อมจัดให้มีการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
  2. นำข้อมูลผลการประเมินที่ได้รับเพื่อพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้สามารถส่งมอบความพึงพอใจทั้งสินค้าและบริการ
  3. 3. การดำเนินการธุรกิจที่สามารถตอบสนองหรือสอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้า

G6. การบริหารคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ และการสื่อสารทางการตลาดอย่างมีความรับผิดชอบ

หลักการ

กระบวนการจัดการเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้คุณภาพและมีความปลอดภัยเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมโดยผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทจัดอยู่ในหมวดเคมีภัณฑ์พื้นฐานซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการบริหารจัดการเพื่อรักษาสินค้าให้มีคุณภาพ รวมถึงการบริการด้านการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า เพื่อให้การจัดส่งถึงลูกค้าและการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ได้อย่างความปลอดภัย ซึ่งการควบคุมให้ทุกกระบวนการได้มาตรฐานคุณภาพตลอดวงจรจนสินค้าส่งถึงลูกค้าและถูกนำไปใช้ได้อย่างมีความปลอดภัยถือเป็นความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และบริการ อันจะเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นต่อชื่อเสียงขององค์กร และรักษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าของบริษัทได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การทำการตลาดเป็นไปอย่างได้ประสิทธิภาพและเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยการเพิ่มช่องทางและจัดให้มีทีมบุคลากรเพื่อสื่อสารและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติและการใช้งานของผลิตภัณฑ์และทีมผู้รับผิดชอบทางการตลาด การขาย ทีมพัฒนาและสนับสนุนธุรกิจ และสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญเพื่อประกอบในการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับกระบวนการผลิตของลูกค้า และทีมโลจิสติกส์ที่จะพิจารณาเลือกประเภทรถขนส่งเพื่อให้บริการลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. บริษัทกำหนดแนวทางการบริหารคุณภาพโดยมีการบริหารจัดการด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานการบริหารจัดการคุณภาพสากล และได้รับการรับรองการจัดการตามมาตรฐาน ISO 9001, รวมถึงมีการขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ Halah และการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (มอก) สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทย่อย

“นโยบายคุณภาพของบริษัท” มีดังนี้

“ระบบมีมาตรฐาน พนักงานมีความรับผิดชอบ ส่งมอบผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงความต้องการของลูกค้า โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”

บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) สามารถดำเนินการให้บรรลุนโยบายคุณภาพดังกล่าวได้ดังต่อไปนี้

  1. 1) บริษัทฯ ได้ทำการจัดตั้งระบบคุณภาพซึ่งอ้างอิงตามข้อกำหนดในระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO9001:2015 ฉบับปัจจุบันโดยระเบียบปฏิบัติ และวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบคุณภาพนี้จะได้รับการธำรงรักษาและทบทวนปรับปรุงเพื่อให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
  2. 2) พนักงานทุกคนคนจะได้รับการศึกษาอบรมให้เข้าใจถึงหลัก, วิธีการตลอดจนเทคนิคที่จำเป็นต้องใช้ตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ใน Job description อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) มีความมั่นใจที่จะสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า โดยกำหนดวัตถุประสงค์คุณภาพรวม (Quality Objective) ของบริษัทไว้ ดังนี้

  1. (1) ชั่วโมงหยุดซ่อมเครื่องจักรแต่ละเครื่อง (ไม่รวมแผน PM) < 4%
  2. (2) สินค้ามีคุณภาพตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ > 95%

  1. 2. บริษัทมีนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการพัฒนาคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามคุณสมบัติที่กลุ่มลูกค้าในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมต้องการ
  2. 3. บริษัทจัดให้มีบุคลากรทั้งทีมด้านการตลาดการขาย ทีมสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจ (Application Support) ทีมโลจิสติกส์ และทีมให้บริการด้านการส่งออกสินค้าสำหรับกลุ่มส่งต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นทีมที่จะติดต่อและประสานงานเพื่อให้บริการโดยตรงกับลูกค้าและเป็นส่วนหนึ่งในทีมงานด้านการบริหารจัดการด้านคุณภาพการบริการด้านการขายและการตลาดและการจัดส่งตลอดจนการควบคุมอย่างรับผิดชอบต่อการสื่อสารข้อมูลทางการตลาดอย่างครบถ้วนให้กับลูกค้า

G7. การบริหารห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืน

หลักการ

การดำเนินธุรกิจของบริษัทต้องอาศัยวัตถุดิบ อุปกรณ์ และการสนับสนุนการบริการจากคู่ค้าในธุรกิจ บริษัทอาจได้รับความเสี่ยงด้านชื่อเสี่ยงขององค์กรหากคู่ค้าของบริษัทไม่ให้ความสำคัญหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย หรือขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน บริษัทจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการบริหารจัดการที่ครอบคลุมทั้งประเด็นด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการวางกลยุทธ์การจัดซื้อจัดจ้างในการลดต้นทุนและควบคุมระยะเวลาที่ต้องใช้ในการจัดส่งสินค้าหรือบริการเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการที่ระบุได้ว่าคู่ค้ารายใดเป็นคู่ค้ารายสำคัญของบริษัท (Critical Tier1) และคู่ค้ารายสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Critical Non-Tier 1) ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการระบุคู่ค้ารายสำคัญอย่างชัดเจน
  2. 2. มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้าของบริษัทซึ่งครอบคลุมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และ/หรือ สังคม ตลอดจนดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นผ่านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
  3. 3. กำหนดให้ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และ/หรือสังคม เป็นส่วนหนึ่งในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง Supplier Code of Conduct และเป็นเกณฑ์ประกอบการคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่
  4. 4. มีกระบวนการติดตาม ตรวจสอบคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่ค้ารายสำคัญที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ควรมีกระบวนการ On-Site ESG Audit เพิ่มเติม
  5. 5. การมีส่วนร่วมดูแลช่วยเหลือคู่ค้าโดยกำหนดระยะเวลาการชำระเงินให้แก่คู่ค้าอย่างเป็นธรรมเพื่อให้คู่ค้ามีสภาพคล่องทางการเงินและสามารถดำเนินธุรกิจ
  6. 6. การมีส่วนร่วมยกระดับความตระหนักถึงเรื่องการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กับคู่ค้าผ่านการจัดทำโครงการ/แผนงานสำหรับส่งเสริมและพัฒนาคู่ค้าให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเช่นกัน

G8. การดำเนินการทางด้านภาษี

หลักการ

การจ่ายภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนในประเทศที่บริษัทมีการดำเนินธุรกิจถือเป็นข้อกำหนดและความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติด้านการจ่ายภาษี และประเด็นในการจ่ายภาษีจะเป็นที่ได้รับความสนใจจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม หากมีการดำเนินการไม่สอดคล้องอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทได้ ข้อมูลการจ่ายภาษีจึงควรมีการเปิดเผยนโยบายทางภาษีที่เหมาะสม รวมถึงอัตราภาษีที่จ่ายจริงเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสต่อแนวทางปฏิบัติในการจ่ายภาษีขององค์กร

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการวางแผนการเงินด้านภาษีอย่างเป็นระบบ โดยจัดทำและเปิดเผยนโยบายด้านภาษีที่มุ่งดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศที่มีการดำเนินการ
  2. 2. มีการจ่ายภาษีครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด
  3. 3. มีการใช้โครงสร้างภาษีในแนวทางที่ไม่ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าบริษัททำหน้าที่ในฐานะองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม
  4. 4. การเปิดเผยจำนวนภาษีที่จ่ายจริง หรืออัตราภาษีที่จ่ายจริงเพื่อผู้มีส่วนได้เสียรับทราบ

อัตราภาษีที่จ่ายจริง (Effective Tax Rate) หมายถึง ร้อยละอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทจ่ายให้รัฐ โดยคำนวนจาก

( ภาษีเงินได้ที่จ่ายจริง x 100 )


กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักภาษี

G9. นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสังคม หรือสิ่งแวดล้อม

หลักการ

“นวัตกรรม” คือ การสร้างสรรค์เชิงบวกเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทและผู้มีส่วนได้เสียทั้งใน ระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ในเชิงสินค้า บริการ กระบวนการ ขั้นตอนการทำงาน ทั้งที่เป็นเรื่องใหม่ การพัฒนาต่อยอด หรือปรับปรุงเพิ่มเติมให้ดีขึ้น

“นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม” คือ ผลลัพธ์จากการมีนวัตกรรมที่นอกจากจะสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจในเชิงเศรษฐกิจแล้ว ยังสร้างคุณค่าต่อสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. การให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม และ/หรือสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย
  2. 2. การมีส่วนสร้างคุณค่าต่อสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อมโดยระบุสามารถระบุเชิงปริมาณที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมที่ดำเนินการ ทั้งในเชิงมูลค่าทางธุรกิจ และคุณค่าทางสังคม และ/หรือสิ่งแวดล้อม

ข้อควรระวัง

  1. - การเปิดเผยข้อมูลของนวัตกรรมที่สามารถสร้างประโยชน์ทั้งในเชิงธุรกิจต่อองค์กร และสร้างคุณค่าให้แก่สังคม และ/หรือสิ่งแวดล้อม โดยนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ในเชิงธุรกิจเพียงมิติเดียว จะไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์การประเมินถึงการดำเนินการตามกรอบด้านความยั่งยืนในเรื่องนี้
  2. - การระบุประโยชน์หรือวัดผลลัพธ์จากนวัตกรรม ให้คำนวนจากนวัตกรรมสินค้า นวัตกรรมบริการ หรือ นวัตกรรมกระบวนการ ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่สินค้าออกจำหน่าย วันที่เริ่มให้บริการ หรือวันที่ที่เริ่มใช้กระบวนการนั้น

G10. ระบบความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ

หลักการ

ในส่วนงานที่เกี่ยวข้องด้านการเงินและบริการ และเทคโนโลยีที่มีการใช้ระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กรอย่างมีนัยสำคัญ และขณะเดียวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงหากไม่มีการจัดการด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อให้มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการจัดการระบบการจัดการข้อมูล และระบบสารสนเทศอย่างสอดคล้องตามมาตรฐานเหมาะสมกับธุรกิจ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการระบบบัญชีการเงิน มีกระบวนการวางระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันอาชญกรรมทางไซเบอร์ หรือระบบการกู้คืนหากข้อมูลเกิดการสูญหายเพื่อป้องกันหรือบรรเทากระทบที่อาจได้รับจากความเสี่ยงด้านความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
  2. 2. ระบบสารสนเทศหรือโครงสร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศของบริษัทมีมาตรการดำเนินการจัดการระบบข้อมูล และสารสนเทศเพื่อให้มีการจัดการที่เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยสารสนเทศ และการป้องกันภัยทางไซเบอร์ขั้นพื้นฐาน
  3. 3. มีการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และความปลอดภัยของข้อมูล โดยจัดให้มีผู้ดูแลจัดการด้าน IT Spec list เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเพื่อกำกับหรือดูแลจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  4. 4. มีการจัดทำนโยบายในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เอกสารการดำเนินงานระบบการจัดการข้อมูลสารสนเทศ การกำหนดลำดับขั้นตอนของผู้สามารถเข้าถึงข้อมูล กำหนดแนวทางป้องกันเรื่องความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือจรรยาบรรณธุรกิจที่ระบุรายละเอียดด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ
  5. 5. ผู้ดูแลระบบความปลอดภัยของระบบสารสนเทศควรมีการติดตามเพื่อทดสอบระบบความปลอดภัย หรือการฝึกอบรมเพื่อป้องกันความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์ให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ

G11.การลงทุนอย่างปลอดภัย การบริหารจัดการทรัพยากร, การบริหารสินทรัพย์ และกำกับรายจ่ายอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม

หลักการ

การจัดสรรและจัดการทรัพยกรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยคำนึงถึงผลกระทบและการพัฒนาตลอดสายตามห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ รวมถึงการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์สินทรัพย์อย่างคุ้มค่า เพื่อส่งเสริมและเป็นฐานอุตสาหกรรมที่มั่นคงในการเชื่อมโยงธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ในการบริหารจัดการทรัพยากร และการจัดการสินทรัพย์เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการสูญเสีย ขจัดการสูญเปล่า และป้องกันโอกาสในการเกิดการด้อยค่า การสูญหาย เป็นพื้นฐานที่ควรมีการจัดการและกำกับรวมถึงรายการเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. ทรัพยากรเป็นปัจจัยสำคัญภายในกระบวนการธุรกิจ ได้แก่ ทรัพยากรด้านการเงิน (Financial Capital), การผลิต (Manufactured Capital), ภูมิปัญญา (Intellectual Capital) , ด้านบุคากร (Human Capital) , สังคมและความสัมพันธ์ (Social and Relationship Capital), ธรรมชาติ (Natural Capital) และรวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่และการรักษาสภาพ การยืดอายุการใช้ประโยชน์ การป้องกันสินทรัพย์สูญหายหรือด้อยค่า โดยมีการบริหารจัดการและลดโอกาสในการเกิดการสูญเปล่าทั้งกับเงินลงทุน โดยมีการบริหารจัดการให้เกิดการจัดสรรเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและมีวิธีการและขั้นตอนอย่างในการควบคุม รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงจากการสูญเสียหรือด้อยค่าอย่างเหมาะสม
  2. 2. การใช้ทรัพยากรทางการเงินการขายและบริหารมีการดำเนินการจัดการจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายและควบคุมรายจ่ายเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายอย่างชาญฉลาดและเหมาะสม
  3. 3. การพิจารณาใช้จ่ายเพื่อโครงการลงทุนควรมีการประเมินศึกษาโครงการเพื่อประเมินความคุ้มค่าและความปลอดภัยก่อนการตัดสินใจในการจ่ายเงินลงทุน และให้พิจารณาปรับเปลี่ยนให้ทันหากเกิดภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงที่ไม่สอดคล้องเพื่อให้การใช้จ่ายเงินลงทุนเป็นไปอย่างปลอดภัยและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือผลกระทบที่อาจเกิดจากการลงทุน
  4. 4. หากการลงทุนโครงการที่ได้มีการลงทุนแล้ว หากเกิดภาวะการณ์ที่คาดว่าจะมีความเปลี่ยนแปลง หรือมีอุปสรรค์หรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นให้ฝ่ายจัดการมีการประเมินความเสี่ยงและบริหารจัดการความเสี่ยง หรือการรายงานโอกาสหรือสถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจเป็นความเสี่ยงสูง ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการเพื่อได้ทราบถึงแนวทางแผนการและมาตรการในการบรรเทาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

G12. การรักษาเสถียรภาพทางด้านการเงิน ผลประกอบการ และการเติบโตทางธุรกิจ

หลักการ

การสร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืนซึ่งคณะกรรมการมีการกำกับดูแลกิจการให้นำไปสู่ผล (Governance outcome) เพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของธุรกิจที่จะเป็นฐานรองรับต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน การรักษาเสถียรภาพด้านการเงินและความสามารถในการทำกำไรรวมถึงความสามารถแข่งขันได้จึงเป็นปัจจัยรากฐานที่สำคัญ

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการบริหารจัดการและกับกับดูแลธุรกิจเพื่อสร้างและส่งเสริมความสามารถแข่งขัน และมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว
  2. 2. รักษากระแสเงินสดและอัตราผลตอบแทนการลงทุนให้ได้ตามเป้าหมายหรืออยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึงติดตามดูแลความเพียงพอของสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้และบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการเงินอย่างเหมาะสม
  3. 3. นโยบายสร้างการเติบโตจากการลงทุนในธุรกิจหรือกิจการที่สามารถส่งเสริมและสร้างศักยกาพต่อการแข่งขัน
  4. 4. การพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการปรับตัวหากเกิดการเปลี่ยนแปลงและการเผชิญต่อปัจจัยและภาวะการต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงภายใต้วัฏจักรธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
ด้านสิ่งแวดล้อม

E1. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

หลักการ

การกำหนดให้มีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรเพื่อช่วยให้บริษัทสามารถวางแผนการดำเนินงานและจัดเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งบริษักำหนดนโยบายในการดำเนินการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อมและได้รับการรับรองการจัดการตาม ISO 14001 เพื่อให้การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงและรายจ่ายที่อาจเกิดจากการละเมิดหรือผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมโดยเป็นไปตามมาตรฐานการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมตามระบบสากล ISO 14001 โดย

“นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท” มีดังนี้

บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจ การผลิตและจำหน่ายสินค้าแคลเซียมออกไซด์, แคลเซียมไฮดรอกไซด์ และแคลเซียมคาร์บอเนตอย่างมีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ในขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีความมุ่งมั่นในการสร้างจิตสำนึกให้แก่พนักงานทุกคน รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในนามขององค์กรให้มีความตระหนักถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมป้องกัน และเสริมสร้างกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ต้องสอดคล้องและเป็นไปตามกฎหมาย ข้อกำหนดของลูกค้าทางด้านสิ่งแวดล้อม และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้

  1. 1. ส่งเสริมการลดการใช้พลังงานและของเสีย โดยการรีไซเคิลเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  2. 2. มีการควบคุมและป้องกันปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ
  3. 3. กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
  4. 4. ติดตามกฎหมาย ข้อกำหนดของลูกค้าและข้อกำหนดอื่น ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
  5. 5. อบรมและสื่อสารแก่พนักงานทุกคนและผู้ปฏิบัติงานในนามขององค์กร เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในนโยบายสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นโยบายนี้จัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร และถ่ายทอดให้แก่พนักงานทุกคนและผู้ปฏิบัติงานในนามขององค์กร เพื่อนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้

  1. 2.มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อจัดการดูแลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงกระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร
  2. 3. มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และควบคุมและรวมไปถึงตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณตามกรอบดำเนินการด้านความยั่งยืนและกำกับดูแลให้ผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมบูรณาการอย่างสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาด้านความยั่งยืน
  3. 4. มีการเปิดเผยประโยชน์เชิงปริมาณที่ได้รับจากสินค้าและบริการหรือกระบวนการที่พัฒนาคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม

นโยบายการควบคุมมลพิษและการบริหารจัดการคุณภาพอากาศ

หลักการ

ด้วยกระบวนการในการผลิตหินปูน และปูนขาว รวมถึงกระบวนการโม่ บด ย่อยหินปูน และการบดปูนขาว รวมถึงแคลเซียมคาร์บอเนต มีกระบวนการที่เป็นแหล่งก่อกำหนดของฝุ่น ควัน และก๊าซซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นมลพิษด้านฝุ่น และส่งผลต่อคุณภาพอากาศเพื่อควบคุม ลด และบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการจึงกำหนดนโยบายและวางแนวปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบและดำเนินมาตรการในการควบคุมมิให้เกิดผลกระทบหรือปัญหาจากฝุ่นจากกระบวนการส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ

บริษัท กำหนดแนวดำเนินการในการบริหารจัดการ ดังนี้

  1. 1. การปฏิบัติตามกฎระเบียบ:
    • • ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
    • • นำแนวปฏิบัติและมาตรฐานที่ดีที่สุดในการจัดการคุณภาพอากาศมาใช้
  2. 2. การป้องกันมลพิษ:
    • • ให้ความสำคัญกับการป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิดโดยการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเลือกใช้วัสดุสามารถช่วยลด หรือบรรเทาผลกระทบ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน
    • • ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสะอาดและแหล่งพลังงานหมุนเวียน
  3. 3. การควบคุมการปล่อยมลพิษ:
    • • ติดตั้งและบำรุงรักษาระบบควบคุมการปล่อยมลพิษขั้นสูงเพื่อจับและลดมลพิษ
    • • ตรวจสอบและรายงานการปล่อยมลพิษอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อม
  4. 4. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง:
    • • ทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อระบุพื้นที่ที่ต้องปรับปรุง
    • • ลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเพื่อหาวิธีแก้ปัญหานวัตกรรมสำหรับการควบคุมมลพิษ
  5. 5. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:
    • • สื่อสารอย่างโปร่งใสกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและโครงการริเริ่มต่าง ๆ
    • • มีส่วนร่วมกับชุมชน หน่วยงานรัฐบาล และองค์กรอื่น ๆ เพื่อร่วมมือในโครงการปรับปรุงคุณภาพอากาศ
  6. 6. การมีส่วนร่วมของพนักงาน:
    • • ให้ความรู้และฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
    • • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมและความพยายามในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

มาตรการการดำเนินงานการควบคุมฝุ่นและก๊าซ

    • • ระบบควบคุมฝุ่นและก๊าซ: ติดตั้งระบบเพื่อจำกัดการปล่อยฝุ่นและก๊าซจากกระบวนการผลิต
    • • ระบบปิด: ใช้ระบบปิดสำหรับการเก็บรักษาและการจัดการวัสดุเพื่อป้องกันการกระจายของฝุ่น
    • • การพ่นน้ำ: ใช้เทคนิคการพ่นน้ำเพื่อระงับฝุ่นในระหว่างการจัดการและการขนส่งวัสดุ
    • • แนวกันชนสีเขียว: ปลูกต้นไม้และพืชพรรณรอบโรงงานเพื่อทำหน้าที่เป็นแนวกันชนธรรมชาติต่อฝุ่น
    • • การทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ: รักษาความสะอาดของอุปกรณ์ ยานพาหนะ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่น
    • • การตรวจสอบและรายงาน: ตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่องและรายงานผลการตรวจสอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มาตรการการดำเนินงานควบคุมผลกระทบด้านเสียงจากกระบวนการผลิต:

ในกระบวนการผลิต จะมีจุดที่ก่อให้เกิดเสียง ได้แก่ ระบบการทำงานของพัดลมขนาดใหญ่ (Blower System) ซึ่งเป็นระบบที่ติดตั้งอยู่ในอาคารผนังคอนกรีตระบบปิด และในระบบที่ก่อให้เกิดเสียงอื่น ๆ จะไม่ใช่เครื่องจักรกลหนัก รวมถึงอุปกรณ์การควบคุมในกระบวนการมีการติดตั้งอุปกรณ์ในการควบคุมเพื่อลดผลกระทบมลภาวะด้านเสียงเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมมลภาวะด้านเสียง

    • • ระบบควบคุมเสียงรบกวน: ติดตั้งระบบเพื่อจำกัดการปล่อยเสียงรบกวนจากกระบวนการผลิต
    • • การใช้วัสดุลดเสียง: ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติลดเสียงในกระบวนการผลิตและการก่อสร้าง
    • • การบำรุงรักษาอุปกรณ์: รักษาความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อป้องกันการเกิดเสียงรบกวน
    • • การตรวจสอบและรายงาน: ตรวจสอบระดับเสียงรบกวนอย่างต่อเนื่องและรายงานผลการตรวจสอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่ส่งผลกับความหลากหลายทางชีวภาพปัจจัยที่ส่งผลกับความหลากหลายทางชีวภาพ


มาตรการการดำเนินงานในการควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งและควบคุมโดยไม่มีการระบายน้ำออกนอกบริเวณโรงงาน:

    • • ระบบบำบัดน้ำทิ้งโดยมีการหมุนเวียนนำภายในกระบวนการเพื่อบำบัดโดยวิธีการตกตระกอนและหมุนเวียนกลับมาใช้ซ้ำ
    • • การวิธีการบำบัดน้ำด้วยวิธีการตกตระกอนด้วยปูนขาวซึ่งเป็นวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการบำบัดน้ำทิ้ง
    • • การบำรุงรักษาอุปกรณ์: รักษาความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบบำบัด ปั๊มน้ำ และที่เกี่ยวข้อง
    • • การตรวจสอบและรายงาน: ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งอย่างต่อเนื่องและรายงานผลการตรวจสอบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การใช้น้ำสำหรับกระบวนการผลิต:

การฉีดน้ำล้างหินก่อนส่งเข้ากระบวนการเผาในเตา


ระบบการใช้น้ำ:

    • • มีบ่อน้ำและติดตั้งระบบท่อเพื่อนำน้ำที่ผ่านการใช้แล้วกลับไปยังบ่อพักน้ำที่ใช้แล้ว
    • • น้ำที่ผ่านการใช้แล้วจะตกตะกอนในบ่อพัก
    • • นำน้ำหลังจากผ่านกระบวนการตกตะกอนหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

กากตะกอนในบ่อน้ำ:

    • • ประกอบด้วยเศษดินโคลนจากกระบวนการล้างหินวัตถุดิบและเศษฝุ่นปูนจากกระบวนการผลิต
    • • ดำเนินการขุดลอกตักออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น
      - ใช้ปรับพื้นที่ของโรงงาน
      - บริจาคให้วัด โรงเรียน ชาวบ้าน
      - ใช้ถมที่

การตรวจติดตามคุณภาพน้ำทิ้ง:

การดำเนินการตรวจวัดโดยมีค่าผลที่ได้จากการตรวจวัดอยู่ในเกณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ยกเว้นค่า pH โดยค่าความเป็นกรดด่าง (pH), มีค่ามาตรฐานอยู่ระหว่าง 5.5 – 9.0

      หมายเหตุ:
    • คุณสมบัติของน้ำที่ผ่านการใช้ในระบบของบริษัทจากการตรวจสภาพได้ค่า pH อยู่ระหว่าง 11-13 ซึ่งเป็นคุณสมบัติความเป็นด่างสูง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปูนขาวซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักในกระบวนการที่มีการใช้น้ำ โดยน้ำที่ผ่านในกระบวนการจะมีคุณสมบัติความเป็นด่างสูงเมื่อมีการใช้น้ำซึ่งเป็นระบบหมุนเวียนภายในกระบวนการผลิตคุณภาพน้ำที่ตรวจวัดได้จึงมีค่าความเป็นด่างสูง แต่เนื่องจากระบบน้ำทิ้งภายในโรงงานเป็นระบบการใช้น้ำหมุนเวียนภายในไม่มีการระบายออกสู่สาธารณะ จึงไม่ส่งผลกระทบภายนอก

การจัดการควบคุมผลกระทบด้านอุณหภูมิและความร้อนจากกระบวนการผลิต

ความร้อนในกระบวนการผลิตตามวิธีการเผาจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวกับความร้อนแต่อย่างใดเนื่องจากระบบเตาเป็นระบบปิดและมีฉนวนอิฐสำหรับป้องกันความร้อนไม่ให้เกิดการรั่วไหลออกจากเตา และการควบคุมในจุดที่อาจส่งผลกระทบโดยมีการตรวจวัดค่าอุณหภูมิความร้อนในบริเวณที่อาจส่งผลกระทบ


นอกจากนี้ ยังมีระบบควบคุมกระบวนการทำงานของเครื่องจักรด้วยระบบ PLC และVisualization ที่สามารถกำหนดค่าพามิเตอร์ในการควบคุมกระบวนการทำงานของเครื่องจักรด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อควบคุมกระบวนการเผาไหม้และการสันดาป (Combustion) ในกระบวนการเตาเผาปูนขาว โดยสามารถกำหนดค่าควบคุมปริมาณออกซิเจนและอุณหภูมิให้มีปริมาณเพียงพอต่อกระบวนการเผาไหม้โดยระบบจะทำการควบคุมและลดปริมาณการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หลังจากการเผาหินปูนด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 900 องศาเซลเซียส (CaCO3+Heat=CaO+SO2)

E2. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการ

การบริหารจัดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นการลดความเสี่ยงด้านการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งทรัพยากรหลักที่สำคัญ เช่น หินปูน ไฟฟ้า เชื้อเพลิง พลังงาน และน้ำ ซึ่งทรัพยากรส่วนใหญ่มีแหล่งที่มาจากธรรมชาติ บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยมุ่งบริหารจัดการนำทรัพยากร เชื้อเพลิง พลังงาน และน้ำ เพื่อใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด หรือการบริหารเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานได้อย่างคุ้มค่า และลดการก่อขยะและเศษซากจากกระบวนการ และ/หรือสามารถนำเศษซากจากกระบวนการสร้างให้เกิดมูลค่า และ/หรือ บริหารจัดการเพื่อประโยชน์ต่อองค์กร และ/หรือต่อชุมชน สังคม รวมไปถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและบริหารความเสี่ยงในการใช้ทรัพยากรเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการกำหนดนโยบายด้านการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์พลังงาน
  2. 2. การติดตามการใช้ทรัพยากรที่สำคัญในกระบวนการครอบคลุมถึง
    • - การใช้ไฟฟ้า
    • - การใช้พลังงาน
    • - การใช้พลังงานทดแทน หรือ พลังงานสะอาด
    • - การใช้เชื้อเพลิง (ดีเซล, เบนซิน, NGV, ถ่านหินทุกประเภท,พลังงาจากชีวมวลทุกประเภท)
    • - การใช้น้ำ/ปริมาณขยะของเสียและการลดขยะและของเสียที่เกิดจากระบวนการธุรกิจ รวมถึงมลภาวะที่อาจเกิดจากการดำเนินการตามกระบวนการทางธุรกิจ
  3. 3. มีกระบวนการจัดการเพื่อให้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมถึงการกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณในการลดความเข้มข้น เช่น ต่อหน่วยผลิต หรือต่อรายได้ หรือต่อจำนวนคน เป็นต้น หรือลดปริมาณการใช้ทรัพยากร และ/หรือการสะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรได้ชัดเจน
  4. 4. มีการกำหนดโครงการเพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยกรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการพัฒนาต่อการบรรลุเป้าหมายด้านการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม และมีการติดตามเปิดเผยข้อมูลการใช้ทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง

E3. การจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ

หลักการ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทุกภาคอุตสาหกรรมในระดับต่าง ๆ และกลายเป็น กระแสในการตั้งเป้าหมายต่อการพัฒนาขับเคลื่อนและการกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดจากหน่วยงานกำกับและสถาบันการเงินหลายแห่ง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโอกาสหรือความเสี่ยงด้านความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจซึ่งต้องมีการกำหนดกลยุทธ์และแผนการรับมือรวมถึงดำเนินการกับสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรและธุรกิจ

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. กำหนดนโยบายและแนวทางเพื่อลดผลกระทบด้านความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนร่วมโดยกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือ จัดทำโครงการที่ส่งเสริม และ/หรือดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมในกิจกรรม หรือเข้าร่วมเครือข่ายที่สามารถสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
  2. 2. การติดตามการใช้ทรัพยากรที่สำคัญในกระบวนการครอบคลุมถึง มีการกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณ หรือที่สามารถวัดผลเชิงปริมาณ หรือการวิเคราะห์ที่แสดงผลการดำเนินการเชิงปริมาณอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับธุรกิจ
  3. 3. มีการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียได้ทราบ

E4. ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์

หลักการ

การจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์เป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญด้วยแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขยายตัวของประชากรโลกในปัจจุบัน ส่งผลให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคต้องถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริการนับวัตถุดิบที่มีการนำไปใช้ในบางอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งการป้องกันความเสี่ยงด้านความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบริษัทในการสร้างโอกาสทางการตลาดและลดความเสี่ยงทางการตลาดในระดับผลิตภัณฑ์ การบูรณาการแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนเข้ากับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยกำหนดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถจัดการการใช้ทรัพยากรให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทควรนำเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม และ/หรือ สังคมมาเพื่อประเมินเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เป้าหมายของผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาสอดคล้องตามกรอบการพัฒนาด้านความยั่งยืน เช่น
    • - ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาสามารถลดการใช้ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
    • - ลดการใช้สารเคมีอันตราย
    • - ลดการใช้พลังงานหรือทรัพยากรในขั้นตอนการใช้ผลิตภัณฑ์
    • - การเพิ่มอายุการใช้งาน
    • - การนำผลิตภัณฑ์ที่สิ้นสุดอายุกลับมาสู่กระบวนการผลิตใหม่
    • - การย่อยสลายของผลิตภัณฑ์ในธรรมชาติ เป็นต้น
  2. 2. ควรมีการดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการนำวัตถุดิบ วัสดุ ชิ้นส่วน หรือบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วในกระบวนการ กลับมาใช้ใหม่ หรือรับกลับมากำจัดอย่างถูกวิธี หรือส่งเสริมผลักดันกิจกรรมและ/หรือโครงการดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

E5. ควารบริหารความเสี่ยงจากการใช้น้ำ

หลักการ

“น้ำ” เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ การจัดการแหล่งน้ำจืดที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการใช้ในการดำเนินธุรกิจท่ามกลางผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ภาคธุรกิจต้องพิจารณาและกำหนดแนวทางเพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำ และควบคุมผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่ต้องใช้แหล่งน้ำเดียวกันให้น้อยที่สุดเพื่อมิให้การใช้น้ำจากแหล่งน้ำของบริษัทส่งผลกระทบภายในชุมชนหรือพื้นที่ตั้งของสถานประกอบการทางธุรกิจ

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. บริษัทมีการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการน้ำเพื่อจัดการความเสี่ยงจากการใช้น้ำและมีการจัดทำแผนการใช้น้ำระดับองค์กรรวมถึงติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำที่สามารถใช้ได้ในระดับท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
  2. 2. มีการวิเคราะห์สถานการณ์ (Scenario Analysis) และประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินงานกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณ หรือคุณภาพน้ำ
  3. 3.มีการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำโดยกำหนดความถี่ในการประเมินความเสี่ยง เช่น การเปลี่ยนแปลงปริมาณ หรือคุณภาพน้ำที่สามารถใช้ได้ การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด ความขัดแย้งกับผู้มีส่วนได้เสีย ราคาน้ำ เป็นต้น
  4. 4. ผลการประเมินความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการน้ำควรนำมาจัดทำเป็นโครงการ/แผนบริการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงในระดับที่บริษัท หรือระดับที่สถานประกอบการ สามารถยอมรับได้ต่อไป

E6. ความหลากหลายทางชีวภาพ

หลักการ

กิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มทรัพยากรและอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตซึ่งในพื้นที่ในการประกอบธุรกิจอาจส่ง และ/หรือสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ได้ซึ่งบริษัทควรมีการบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดข้อกำหนดที่สามารถต่ออายุใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจรวมถึงการป้องกันความเสียหายต่อชื่อเสียง โดยกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องตามแนวทางการรักษาระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. ได้กำหนดและเปิดเผยนโยบายความหลากหลายทางชีวภาพที่ให้ตระหนักและมุ่งลดผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมและให้ความสำคัญต่อการดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และถือเป็นความรับผิดชอบของธุรกิจและหนึ่งในหน้าที่ในการมีส่วนช่วยขับเคลื่อนพัฒนาให้เกิดการบำรุงรักษา คืนคุณค่าให้แก่ระบบนิเวศน์และให้ความสำคัญในการฟื้นฟูธรรมชาติและเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนวงจรชีวิตที่เกี่ยวเนื่องภายในระบบนิเวศน์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท และกำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินของบริษัท
  2. 2. มีการดำเนินการเพื่อรักษาหรือปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ หรือมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติหรือระบบนิเวศน์ในส่วนกิจกรรมหรือส่วนงานที่อาจได้รับผลกระทบจากระบวนการทางธุรกิจ
ด้านสังคม

S1. การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

หลักการ

ความคาดหวังจากประชาคมโลกให้ธุรกิจดำเนินการโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนโดยกำหนดแนวทางในการลดผลกระทบทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต ความเป็นอยู่ และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ โดยกำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมและการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ การมีแนวปฏิบัติต่อพนักงาน หรือแรงงานอย่างเป็นธรรม และการมีมาตรการสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ซึ่งการดำเนินการพัฒนาขับเคลื่อนด้านสิทธิมนุษชนให้เห็นผลและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเป็นการตอบสนองต่อความคาดหวังและการแสดงความรับผิดชอบในฐานะองค์กรที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญตามแนวทางที่สอดคล้องในการพัฒนาธุรกิจยั่งยืนและตามหลักสิทธิมนุษยชน

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการกำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร
  2. 2. มีการปฏิบัติต่อพนักงาน/แรงงานที่สอดคล้องกับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน เช่น การจ้างงานผู้พิการ การเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับสวัสดิการผ่านตัวแทนคณะกรรมการสวัสดิการ เป็นต้น
  3. 3. การเปิดเผยรายละเอียดกระบวนตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
  4. 4. มีการดำเนินการสอดคล้องกับกระบวนการโดยระบุและเปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อป้องกันผลกระทบในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนมีแนวทางการแก้ไขเยียวยา (Remediation) เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานของบริษัท

S2. การพัฒนาศักยภาพแก่พนักงาน

หลักการ

พนักงานที่มีศักยภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางธุรกิจที่บริษัทกำหนด รวมถึงเพิ่มโอกาสในการพัฒนาผลิตผลและการสร้างโอกาสด้านนวัตกรรมทางธุรกิจรวมถึงโอกาสทางธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพให้แก่พนักงานเป็นอีกวิธีหนึ่งในการจูงใจให้บุคลากรอยากร่วมงานหรือเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรไปพร้อมกัน

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. การกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมตามหน้าที่หรือผลประเมินพนักงาน
  2. 2. กำหนดทิศทางการพัฒนาศักยภาพพนักงานผ่านการระบุเป้าหมายและโครงการส่งเสริมความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อสามารถติดตามผลการฝึกอบรม
  3. 3. จัดให้มีการเก็บสถิติจำนวนชั่วโมงฝึกอบรมเพื่อทราบผลสำเร็จของโครงการพัฒนาศักยภาพของพนักงานตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมนั้น

S3. การจูงใจและการรักษาพนักงาน

หลักการ

การจูงใจและรักษาพนักงานที่มีศักยภาพ จะสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและมีโอกาสประสบความสำเร็จตามกลยุทธ์ที่องค์กรกำหนด แนวทางการจูงใจและรักษาพนักงานจะพิจารณาถึงกรอบการให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการทั้งในระยะสั้น และระยะยาวตามความเหมาะสมกับผลการดำเนินงานของพนักงานในทุกระดับทั่วทั้งองค์กร

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการพิจารณาการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคนด้วยเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนอ้างอิงผลสำเร็จของการปฏิบัติงานเพื่อนำผลประเมินสำหรับใช้กำหนดระดับค่าตอบแทน และเป็นข้อมูลสำหรับกำหนดโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
  2. 2. มีการติดตามระดับความพึงพอใจหรือความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร โดยกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและติดตามประเมินผลความพึงพอใจ และ/หรือความผูกพันของพนักงาน
  3. 3. นำผลวิเคราะห์และจัดทำโครงการพัฒนาความพึงพอใจและปรับปรุงการดูแลพนักงาน
  4. 4. ยกระดับการสื่อสารผลประเมินให้พนักงานรับทราบและเปิดเผยสถิติการลาออกของพนักงานเพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการพัฒนาและยกระดับการดูแลพนักงานอย่างต่อเนื่อง

S4. สุขภาวะและความปลอดภัยในการทำงาน

หลักการ

สุขภาวะและความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นประเด็นความยั่งยืนที่บริษัทให้สำคัญเพื่อสามารถบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม โดยบริษัทมีการดำเนินการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยโดยใช้มาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและได้รับการรับรองการจัดการตามมาตรฐาน ISO 45001 และมีการตั้งเป้าในการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นหยุดงานให้เป็นศูนย์ ด้วยตระหนักถึงผลกระทบความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวหากเกิดความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญอาจกระทบต่อชื่อเสียง และหากสามารถจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีจะเสริมสร้างระบบและกระบวนการทำงานได้อย่างปลอดภัยให้กับพนักงานซึ่งเป็นการประกันสภาพการทำงานที่พนักงานสามารถทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นปัจจัยสำคัญต่อระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. มีการบริหารจัดการให้พนักงานมีสุขภาวะและทำงานอย่างปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  2. 2. มีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  3. 3. มีมาตรฐานการดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน
  4. 4. มีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ผู้รับเหมา / คู่ค้า ที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  5. 5. มีการกำหนดมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  6. 6. มีการพิจารณาบันทึกอัตราการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR / Lost Time Incident Rate : LTIR) หรืออัตราการหยุดงาน (Absent Rate: AR) และการบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเพื่อการสืบสวนถึงต้นเหตุของเหตุการณ์ในแต่ละครั้ง
  7. 7. มีโครงการส่งเสริมความรู้ รวมถึงการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความตระหนักและสามารถรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  8. 8. มีการกำหนดกรอบแนวทางดำเนินการ โดยกำหนด

นโยบายการดำเนินการด้านความปลอดภัยด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ของบริษัท มีดังนี้

บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าแคลเซียมออกไซด์, แคลเซียมไฮดรอกไซด์ และแคลเซียมคาร์บอเนตอย่างมีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ควบคู่ไปกับการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยภายใต้ความมุ่งมั่น ดังนี้

  1. 1. มุ่งมั่นจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความปลอดภัย
  2. 2. มุ่งมั่นปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ
  3. 3. มุ่งมั่นกำจัดอันตรายและลดความเสี่ยง
  4. 4. มุ่งมั่นปรับปรุงระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
  5. 5. มุ่งมั่นให้คำปรึกษาและการมีส่วนร่วมกับผู้ปฏิบัติงานหรือตัวแทนผู้ปฏิบัติงาน

ทั้งนี้บริษัทฯ พร้อมสนับสนุนทรัพยากรบุคลากร เวลา งบประมาณ และการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในการให้คำปรึกษาและการมีส่วนร่วมกับผู้ปฏิบัติงานหรือตัวแทนผู้ปฏิบัติงาน นโยบายฯนี้จะขยายผลไปยังพนักงานทุกคน ทุกระดับ และพร้อมเผยแพร่สู่สาธารณชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

S5. การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม

หลักการ

การวางแนวให้การสนับสนุนและ/หรือการให้ความร่วมมือที่ดีกับภาคประชาสังคม ชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่น หรือหน่วยงานภาครัฐ โดยการเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือ ร่วมกิจกรรมของภาคชุมชม สังคม และหน่วยงานท้องถิ่นทำให้การเข้าถึงการสำรวจรับทราบข้อมูลความเห็นหรือข้อกังวลเพื่อนำไปสู่การดำเนินการตอบสนองต่อความคาดหวัง อันจะนำมาซึ่งการสร้างให้เกิดมวลชนสัมพันธ์ที่ดีเพื่อลดข้อขัดแย้งหรือความเสี่ยงที่สามารถกระทบต่อชื่อเสียง และได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเพื่อให้การดำเนินธุรกิจดำเนินการได้อย่างราบรื่นโดยได้รับความร่วมมือที่ดีจากภาคประชาสังคม ชุมชน ตลอดรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมที่เกี่ยวข้อง มีการสำรวจข้อกังวัลของสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทเพื่อกำหนดแนวทางการลดผลกระทบที่มีต่อชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
  2. 2. มีการมุ่งเน้นโครงการซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนหรือแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการทางธุรกิจโดยกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานร่วมกับชุมชนหรือเพื่อร่วมแก้ปัญหาสังคม เพื่อให้มีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและยั่งยืน ตลอดจนมีการติดตามผลลัพธ์และประโยชน์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามกลยุทธ์ที่กำหนด ทั้งประโยชน์ที่บริษัทได้รับในเชิงปริมาณ/มูลค่า/ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ เช่น รายได้ กำไร ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ หรือผลลัพธ์ในเชิงที่สามารถทำให้ระดับความเสี่ยงที่ลดลง หรือ ประโยชน์/ผลตอบแทนเชิงปริมาณทางสังคมที่เกิดต่อชุมชน หรือประโยชน์ต่อสังคมเชิงผลกระบวนการ (Output) หรือ ผลลัพธ์สุดท้าย (Outcome)

ข้อมูลประกอบการพิจารณาในการดำเนินการสำหรับพิจารณาจัดทำโครงการเพื่อการมีส่วนรวมกับชุมชน สังคม ตามกรอบการดำเนินการด้านความยั่งยืน

  1. - บริษัทควรพิจารณาข้อมูลที่จะดำเนินการควรเชื่อมโยงกับกระบวนการทางธุรกิจ ในกิจการ CSR after process เช่น การบริจาค กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือกิจกรรมอาสาสมัครของพนักงาน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางธุรกิจ จะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามเป้าหมายหรือกรอบการดำเนินการด้านความยั่งยืน โดยดูแนวทางดำเนินการตามแนวปฏิบัติในข้อ 2
  2. - การระบุประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชน หรือแก้ไขปัญหาสังคม จะไม่รวมถึงประโยชน์ด้านภาพลักษณ์ ชื่อเสียง และการได้รับการยอมรับจากสังคม

S6. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

หลักการ

กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือสามารถส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงประเด็นความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำไปประกอบการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมขององค์กร รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของสังคม รวมถึงสร้างคุณค่าระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

แนวทางการปฏิบัติ

  1. 1. กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ประกอบด้วย
    • 1.1) การกำหนดนโยบายที่ครอบคลุมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมกับองค์กร แนวทางการระบุและประเมินความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการอาศัยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกัน
    • 1.2) ดำเนินการและระบุเพื่อประเมินลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท การสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญ รวมทั้งรายงานผลการมีส่วนร่วมของบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียต่อคณะกรรมการ
  2. 2. การดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนขององค์กร ซึ่งคณะกรรมการได้กำหนดกรอบนโยบายไว้เป็นแนวทางสำหรับดำเนินการ ผู้นำฝ่ายจัดการเป็นผู้รับกรอบนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่ได้กำหนด โดยให้พนักงานได้เข้ามีส่วนร่วมเพื่อเสนอแนวคิดในการดำเนินการในรูปแบบกิจกรรมหรือโครงการ


การทบทวนนโยบาย

นโยบายฉบับนี้นำหลักเกณฑ์และกรอบจากเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน ประจำปี 2566 รวมถึงกรอบนโยบายที่ได้รับจากกลุ่มผู้หุ้นหลักเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะมีการทบทวนโดยคณะกรรมการกำกับการพัฒนาความยั่งยืนเพื่อพิจารณาเปลี่ยนแปลงและทบทวนหรือปรับปรุงหากมีสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีความเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท

นโยบายนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (ทบทวน ครั้งที่ 1) ได้กำหนดไว้เป็นกรอบแนวปฏิบัติ โดยเสนอต่อประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อประกาศและอนุมัติใช้เป็นกรอบนโยบายการพัฒนาด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไป


นายศรีภพ สารสาส

ประธานคณะกรรมการ


รายละเอียดเอกสารที่จัดทำและการปรับปรุงและการนำเสนอเพื่อทบทวนประจำปี

ลำดับ เลขที่เอกสาร จัดทำในรูปแบบเอกสาร ว.ด.ป.เสนอที่คณะกรรมการ เสนอที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อรับทราบ และสำหรับการดำเนินการทบทวนนโยบายประจำปี
1 CS20230902 20 กันยายน 2566 10 พศจิการยน 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2566
2 CS20230902(Rev01) 12 ธันวาคม 2567 21 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2568 (ทบทวน)
ดาวน์โหลดเอกสาร

หากต้องการอ่าน "นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี" ของบริษัทฯ ฉบับเต็ม ท่านสามารถโหลดไฟล์จากลิงก์ด้านล่างนี้

ชื่อไฟล์ : นโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
ขนาดไฟล์ : 307KB
ชนิดไฟล์ : pdf
ดาวน์โหลด

เอกสารอื่นๆ

รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน ประจำปี 2566

รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน ประจำปี 2565

รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน ประจำปี 2564

รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน ประจำปี 2563

รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน ประจำปี 2562

รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน ประจำปี 2561